เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสต-
ธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเจตสิกโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียง
ด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาต-
ปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[130] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอาเสวน-
ปัจจัย (ย่อ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :73 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
กัมมปัจจัย
[131] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยกัมม-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากโดย
กัมมปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกโดยกัมมปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตและจิตตสมุฏฐานรูปโดย
กัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตที่เป็นวิบากและ
กฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยกัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ จิต และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบาก จิต
และกฏัตตารูปโดยกัมมปัจจัย (3)

วิปากปัจจัยเป็นต้น
[132] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดย
วิปากปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัย
โดยอินทรียปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี 3 วาระ เป็น
ปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี 3 วาระ เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี 5 วาระ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :74 }